Last updated: 15 พ.ย. 2567 | 1787 จำนวนผู้เข้าชม |
หลายคนคงเคยได้ยินหรือคุ้นหูกับ OCR (Optical Character Recognition) กันมาบ้างแล้ว
ซึ่ง OCR (Optical Character Recognition) เป็นเทคโนโลยีที่แปลงเอกสาร (Document), รูปภาพ (Picture) หรือแม้แต่ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (E-Signature) ที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร หรือ ข้อความ (Plain Text) ให้เป็นไฟล์ดิจิทัลที่สามารถสืบค้นได้ด้วยคำค้นหา (Keyword)
ภาพจาก : https://lengyi.medium.com/part-1-optical-character-recognition-with-tensorflow-and-keras-ocr-94c271c0a0a3
แล้ว OMR คืออะไร?
OMR (Optical Mark Recognition) เป็นการอ่านค่าของเครื่องหมายหรือตำหนิที่สร้างขึ้นมาแทนการอ่านอักขระ (OCR) โดยเครื่องหมายนั้นๆ ไม่มีข้อมูล ข้อความใดๆ อยู่ในนั้น แต่เครื่องมือที่ใช้อ่านข้อมูล OMR จะมีการระบุว่าตำแหน่งเครื่องหมายนั้นๆร่วมด้วย
นอกจาก OMR ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "Optical Mark Reader" หรือเครื่องมือสำหรับสแกนและอ่านค่าตำแหน่ง หลักการทำงานของเครื่อง OMR ก็คือ ภายในมีหัวอ่านเครื่องหมายด้วยแสงในตัว และอุปกรณ์นั้น ๆ ต้องมีซอฟต์แวร์สำหรับประมวลผลข้อมูล เช่น เครื่องสแกน (Scanner) ทั้งรูปแบบตั้งโต๊ะและพกพา (Portable Scanner)
อุปกรณ์ OMR ที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีก็คือ เครื่องตรวจข้อสอบ สำหรับตรวจข้อสอบที่ใช้การป้ายสีตรงจุดเฉพาะ เช่น ข้อสอบที่ใช้ ดินสอ 2B หรือเข้มกว่าระบายในช่องคำตอบ แสงจากเครื่อง OMR ก็จะทำการตรวจตรงจุดที่ระบายดินสอไว้ แล้วประมวลผลคะแนนจากข้อสอบแต่ละชุดภายในเวลารวดเร็ว
ภาพจาก : https://www.cps.co.th/product/49024-42530/wac-omr
OCR vs OMR ต่างกันอย่างไร?
ความแตกต่างระหว่าง OCR และ OMR ก็คือ ลักษณะของข้อมูลในไฟล์
OCR คือ "การรู้จำอักขระด้วยแสง" แน่นอนว่าจะต้องมีอักขระ ข้อความที่สื่อความหมายอยู่ในเอกสาร
ส่วน OMR คือ "การรู้จำเครื่องหมายด้วยแสง" OMR จะเน้นการสำรวจข้อมูลผ่านจุดที่ทำตำแหน่งเครื่องหมายไว้เป็นหลัก
ฉะนั้น ไฟล์ OCR จึงใช้อุปกรณ์อ่านข้อมูลที่ต่างกัน ทั้งการสร้างไฟล์ OCR ขึ้นมา ก็จะต้องใช้เครื่องสแกนอ่านข้อมูลบนกระดาษ พื้นผิวแล้วนำมาแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลที่อ่านได้โดยซอฟต์แวร์
ส่วน OMR ก็จะทำการอ่านข้อมูลจากจุดที่ซอฟต์แวร์กำหนดไว้ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลออกมา
เทคโนโลยี OCR และ OMR ถูกนำไปใช้อย่างไรในภาคธุรกิจ?
เทคโนโลยี OCR ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเนื้อที่ เนื่องจากเป็นการย่อขนาด ลดจำนวนแผ่นกระดาษด้วยการสแกนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล สามารถสืบค้นได้อย่างง่ายดายผ่าน Keyword ที่ถูกกำหนดในไฟล์นั้น ๆ จัดเก็บบนพื้นที่คลาวด์ (Cloud Storage) ได้ ไม่ต้องเปลืองพื้นที่เก็บเอกสารแถมยังเข้าถึงได้ง่ายกว่า
แท้จริงแล้ว OCR เป็นเทคโนโลยีที่แทรกซึมอยู่ในหลายๆ อุตสาหกรรม ธุรกิจที่ต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น ข้อมูลประวัติการรักษาของผู้ป่วยที่แพทย์ต้องใช้, การค้นหาเอกสาร PO, Invoice, Latter of credit เป็นต้น
ส่วน เทคโนโลยี OMR เข้ามาช่วยจัดการเอกสารที่มีจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว จากตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือการตรวจข้อสอบจำนวนมาก เพียงแต่ว่าต้องเตรียมเอกสารให้เข้ากับเครื่องมืออย่างตรวจข้อสอบ หากข้อสอบถูกฝนด้วยดินสอ 2B หรือมากกว่า การตรวจข้อสอบก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยประมวลผล บันทึกข้อมูลอย่างละเอียดอีกด้วย
ที่มา: www.necc.mass.edu , th.fondoperlaterra.org , sites.google.com , aigencorp.com , lengyi.medium.com , www.dropbox.com